วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

เอกสารที่เกี่ยวข้องเเละโปรเเกรมต่างๆ


3. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware)
                 คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย หรือที่เราเรียกว่าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น หน่วยรับข้อมูล (input), หน่วยแสดงข้อมูล (output),หน่วยประมวลผล (processing unit), หน่วยความจำ (memory unit/storage unit)และอุปกรณ์อื่นๆ

3.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
                หมายถึงโครงสร้างของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอคอมพิวเตอร์ และตัวเครื่อง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่ช่วยเสริมให้คอมพิวเตร์และตัวเครื่องทำงานได้กว้าง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องดิจิไตส์เซอร์ ชุดมัลติมีเดีย อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ ดังนั้นส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งตามหน้าที่การทำงานของเครื่องได้ดังนี้
                3.1 หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ (Keyboard), และมาส์ (Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่นๆอีกได้แก่ สแกนเนอร์ (Scanner),  วีดีโอคารา (Video Camera), ไมโครโฟน(Microphone), ทัชสกรีน(Touch screen),  แทร็คบอล(Trackball),ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์  (Digiter tablet and crosshair)
                3.2 หน่วยประมวลผลกลาง (Processor) เป็นชิปเซตที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลภายใน ซึ่งประกอบด้วย ส่วนควบคุม (Contral Unit : CU) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานส่วนต่างๆของระบบโดยส่งสัญญาณควบคุมผ่านระบบบัส (Bus) ส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ (Arithmetic and Logic Unit : ALU) มีหน้าที่หลักคือ การคำนวณและการเปรียบเทียบข้อมูลด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ และตรรกศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และการตรวจสิบเงื่อนไข เก็บข้อมูลที่ได้จัดการ ประมวลไว้ในส่วนที่เรียกว่า Register ปกติแล้วคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลเพียงชุดเดียว ในกรณีของคอมพิวเตอร์ที่ผลงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมซึ่งมีความละเอียดของข้อมูลสูง มีการประมวลผลตลอดเวลา และมีการทำงานของโปรแกรมพร้อมกันหลยโปรแกรม หน่วยประมวลผลเพียงชุดเดียวจึงอาจไม้เพียงพอ เพราะจะทำให้เครื่องประมวลผลหยุดการทำงานในขณะที่มีการประมวลผลหนักๆ การเลือกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบมีประมวลผล  2 ชุด (two-processor) เป็นทางหนึ่งที่ช่วยในการประมวลผลมีเสถียรภาพ โดยหน่วยประมวลผลสามารถทำงานในเวลาเดียวกันเป็นตัวสำรองซึ่งกันและกันเมื่อ CPU ตัวใดตัวหนึ่งหยุดทำงานอีตัวหนึ่งจะทำงานแทนโดยอัตโนมัติ
3.3 หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เราสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้โดยอัตโนมัติ โดยอาศัยชุดคำสั่งที่ป้อนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์จะเก็บคำสั่งเหล่านั้นไว้ในหน่วยความจำหลักเพื่อทำงานตามชุดคำสั่ง หน่วยความจำหลักประกอบด้วย หน่วยความจำแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory : ROM) ทำหน้าที่ในการเก็บชุดคำสั่ง สั่งควบคุมการรับส่งข้อมูลพื้นฐาน คือ BIOS ซึ่งจะถูกกำหนดมาจากโรงงานผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำส่วนนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตลอดอายุการใช้งานของเครื่อง อีกประเภทหนึ่งเรียกว่า หน่วยความจำแบบชั่วคราว (Random Access Memory : RAM)  หน่วยความจำส่วนนี้สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ตลอดเวลา เป็นส่วนที่ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลเพื่อส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผล หลังจากคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลแล้วจะส่งข้อมูลกลับมาที่หน่วยความจำ ทำให้ความจำมีการเปลียนแปลงเคลื่อนย้ายจากส่งเป็นจำนวนมาก เปรียบเสมือนหน่วยรับฝากข้อมูลเบบชั่วคราวซึ่งจะถูกแทนที่ด้วนข้อมูลใหม่เสมอ ถ้าปิดเครื่องข้อมูลในหน่วยความจำส่วนนี้จะหายไปหมด คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลดาวเทียม ในปัจจุบันควรเลือกใช้ RAM ชนิดที่มี Parity SDRAM PC 100 โดยมี RAM ไม่ต่ำกว่า 128 MB เนื่องจากข้อมูลดาวเทียมมีความละเอียดและมีความซับซ้อนในการประมวลผลขั้นตอน โปรแกรมประมวลผลข้อมูลดาวเทียมมีขนาดใหญ่ และมีการต่อพ่วงอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เทปอ่านข้อมูล สำหรับอ่านข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในหน่วยความจำ จึงทำให้ความต้องการหน่วยความจำหลักมีมากขึ้นแลพการประมวลผลแต่ละครั้งจะมีการใช้หน่วยความจำจะเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว
4. หน่วยบันทึกข้อมูล (Data Entry Unit) เป็นสื่อในการเก็บข้อมูล และสามารถนำข้อมูลกลับไปประมวลผลใหม่ และบันทึกข้อมูลซ้ำได้หลายครั้ง ข้อมูลจะถูกประมวลผลแล้วเก็ยอยู่ในหน่วยความจำหลัก ถ้าปิดเครื่องข้อมูลเหล่านั้นจะหายไป จึงมีการบันทึกข้อมูลงฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์ส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นทั้งหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผลข้อมูล (Input/output Device) อุปกรณ์ที่จำเป็นในระบบงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้แก่
  4.1 ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) แผ่นจานแม่เหล็กเก็บข้อมูลชนิดแข็ง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่เชื่อมต่อภายในเครื่อง (Internal Hard Disk) และประเภทที่เชื่อมต่อภายนอก (External  Hard Disk)
ปัจจุบันได้มีการผลิต ฮาร์ดดิสก์ความจุตั้งแต่ 6 GB โดยมีมาตารฐาน  การเชื่อมต่อ IDE SCSI และ USB ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลตามมาตราฐานแบบ SCSI จะมีประสิทธิภาพและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล การส่งผ่านข้อมูลจำนวนมาก ฮาร์ดดิสก์ที่ผลิตในปัจจุบันได้แก่ Seagate, IBM, Maxtor, Quantum

                 4.2 เทปคาร์ทริดจ (Cartridge Tape) เทปคาร์ทริดจ มีจุดเด่นตรงสามารถบันทึกข้อมูลซ้ำได้หลายครั้ง และมีความจุสูงถึงระดับกิกะไบต์ คือ ตั้งแต่ 1 กิกะไบต์ขึ้นไป สูงถึง 14 กิกะไบต์ มีลักษณะเทปคล้ายเทปคาสเซ็ทเป็นม้วนยาว 112 m ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลที่จำนวนมาก เช่น การสีรองข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่ ใช้เป็นสื่อกลางในการบันทึกข้อมูลดาวเทียม
               4.3 เครื่องอ่านละบันทึกข้อมูล ประเภท CD,DVD ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านและเขียนข้อมูลทั้งชนิดอ่านอย่างเดียว ซึ่งเรียกว่า Compact Disk Read Only Memory (CD-ROM) Digital Video dise/Digital Versatile Disc (DVD) และชนิดที่สามารถอ่านและเขียนได้เรียกว่า CD-R,DVD-R ปกติแล้วการบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ครั้ง เรียกว่า CD-RW, DVD-RW สามารถลบข้อมูลในแผ่นและบันทึกใหม่ได้
                4.4 Floppy Disk แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน เคลือบด้วยสาร Polyester เป็น Mylar บางๆ ขรรจุในซองพลาสติกมีขนาด 3.5 นิ้ว ความบรรจุ 1.44 MB
                4.5 หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit) ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล เป็นส่วนที่เชื่อมความสัมพันธ์และโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ หน่วยแสดงผลที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ จอคอมพิวเตอร์ ให้ความละเอียดของการแสดงผลได้ดีกว่าแสดงผลออกทางสิ่งพิมพ์ แต่เราไม่สามารถจับต้องได้เราเรียกว่า Softcopy ส่วนการแสดงผลออกทางสื่อสิ่งพิมพ์เรียกว่า Hardcopy เช่น แผนที่ แผนภูมิต่างๆ จัดพิมพ์ในรูปกระดาษ หรือแผ่นฟิล์ม
               1. จอคอมพิวเตอร์ จอคอมพิวเตอร์สำหรับงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียม ควรใช้หน้าจอขนาด 20 นิ้ว ขึ้นไปหรือขั้นต่ำ 17 นิ้ว มีหลอดภาพชนิดTrinitron ซึ่งให้ความคมชัดของภาพได้ดี และความละเอียดในการแสดงผล 1600x1200 จุด ทำให้สามารถแสดงผลภาพได้ดี
                2. เครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลดาวเทียมมีด้วยกันหลายประเภท แต่ที่นิยมใช้กัน คือ เครื่องพิมพ์ชนิด Laser เครื่องพิมพ์ชนิด Ink Jet ซึ่งให้ความละเอียดในการพิมพ์สูง และพิมพ์ได้รวดเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ชนิด Dot matrix


4. เว็บไซด์ (Website)
4.1 ความหมายของเว็บไซด์
              เว็บไซด์ (Website) คือ แหล่งที่เก้ฐรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อต่างๆเช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทกรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่างๆ เหล่านี้ว่าเว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซด์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซด์คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Link) ถึงกัน ตามหลักคำว่า เว็บไซด์จะใช้สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์แบบเซิร์ฟเวอร์หรือจดทะเบียนเป็นของตนเองเรียบร้อยแล้วเช่น www.google.co.th ซึ่งเว็บไซด์ที่ให้บริการสืบคืนค้นข้อมูลเป็นต้น โฮมเพจ (Home Page)
         โฮมเพจ คือ คำที่เรียกหน้าของเว็บไซด์ ซึ่งประกอบไปด้วยเมนูต่างๆและเรื่องราวต่างๆมามายคล้ายปกนิตยสารบ้านเรา ดังนั้นหากเราออกแบบหน้าโฮมเพจให้สวยงามและน่าสนใจ โอกาศที่ผู้ชมจะแวะเข้ามาเยี่ยมเยือนโฮมเพจของเราก็ยิ่งมากตามไปด้วยเว็บเพจ (Web Page)
           เว็บเพจ คือ คำที่ใช้เรียกหน้าเอกสารต่างๆ ที่อยู่ในรูปไฟล์ HTML ( Hyper Text Markup Language) เปรียบเสมือนหน้ากระดาษแต่ละหน้าที่มีเรื่องราวต่างๆมากมายบรรจุอยู่ในนิตยสาร แตกต่างกันตรงที่มีการเชื่อมโยง (Link) ซึ่งเราสามารถคลิกไปที่หน้าใดของโฮมเพจก็ได้
           เว็บไซด์ (Web Site) คือ คำที่ใช้เรียกกลุ่มของเว็บเพจ ( ดังนั้นภายในเว็บไซด์จะประกอบไปด้วยโฮมเพจและเว็บเพจ) โดยเรามักจะใช้เรียกเว็บที่มีขนาดใหญ่และมีการจดทะเบียนชื่อเว็บไซด์นั้นๆไว้แล้ว (Domain Name) เช่น http://www.geocities.com, http://www.sanook.com, http://yahoo.com เป็นต้น สรุปเว็บไซด์คือ หน้าแต่ละหน้าที่มีการเชื่อมโยงถึงกัน

4.2 ประเภทของเว็บไซด์ (Website)
            เว็บไซด์สามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 8 ประเภทตามลักษณะของเนื้อหาและรูปแบบของเว็บไซด์ กุ่มเว็บทั้ง 8 ประเภท
              1. เว็บท่า (Portal site) เว็บท่านั้นอาจรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่าเว็บวาไรตี้ (variety web) ซึ่งหมายถึงเว็บที่ให้บริการต่างๆ ไว้มากมายมักประกอบได้ด้วยบริการเครื่องมือค้นหา ที่รวบรวมลิงค์ของเว็บไซด์ที่น่าสนใจไว้มากมายให้ได้ค้นหา รวมถึงบริการที่เกี่ยวกับเรื่องราวที่มีสาระและบันเทิงหลากหลายประเภท เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ดูดวง ท่องเที่ยว IT เกม สุขภาพ หรืออื่นๆ
               2. เว็บข่าว (News site) เว็บข่าวมักเป็นเว็บไซด์ที่สร้างขึ้นโดยองค์กรข่าวหรือสถาบันสื่อสารมวลชนต่างๆ ที่มีสื่อมวลชนประเภทต่างๆ ของตนอยู่เป็นหลัก เช่น สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร หรือแม้กระทั่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ
               3. เว็บข้อมูล (Information site) เว็บข้อมูลนั้นเป็นเว็บที่ให้บริการเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูล ข่าวสาร หรือข้อเท็จจริงต่างๆ ตนเองขึ้นมา เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลที่สนใจ ได้เข้ามาศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรของตนได้อีกทั้งยังเป็น การสร้างโอกาศในการประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจอันดีให้เกิดแก่ประชาชนในสังคมอีกด้วย
                4. เว็บธุรกิจหรือการตลาด (Business/Marketing site) เว็บธุรกิจหรือการตลาดเป็บเว็บไซด์ที่มักสร้างขึ้นโดยองค์กรธุรกิจต่างๆ มีจุดมุ่งหมายหลักในการประชาสัมพันธ์องค์กรและเพิ่มผลกำไรทางการค้า โดยเนื้อหาส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมักจะเป็นการเสนอที่มีความน่าสนใจและตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อผลกำไรทางธุรกิจนั่นเอง
                 5. เว็บการศึกษา (Education site) เว็บการศึกษามีมักเป็นเว็บที่สร้างขึ้นโดยสถาบันการศึกษาต่างๆ หรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีนโยบายในการเผยแพร่ความรู้ และให้โอกาสในการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการศึกษาแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป เว็บการศึกษาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เว็บที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยตรงนั้น ได้แก่เว็บของสถาบันการศึกษา ห้องสมุด และเว็บไซดืที่ให้บริการ การเรียนรู้แบบออนไลน์ที่เรียกว่า อี-เลิร์นนิ่ง
(E-learning)  นอกจากนี้แล้วยังรวบถึงเว็บที่สอนหรือให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น การทำเว็บ การทำอาหาร การเขียนโปรแกรมฯลฯ
                 6. เว็บบันเทิง (Entertainment site)  เว็บบันเทิงนั้นมุ่งเสนอและให้บริการต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความบันเทิง โดยทั่วไปอาจนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการบันเทิงทั่วไป เช่น ดนตรี ภาพยนตร์ ดารา กีฬา ความรัก บทกลอน การ์ตูน เรื่องขำขัน รวมถึงการให้บริการดาวน์โหลด โลโก้และริงโทน สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่อีกด้วย เว็บประเภทนี้อาจมีรูปแบบที่เป็นอินเตอร์แอคทีฟที่ตื่นตาตื่นใจ หรือใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียได้มากกว่าเว็บประเภทอื่น
                 7. เว็บองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (None-profit organization site) เว็บประเภทนี้มักจะเป็นเว็บที่สร้างขึ้น โดยกลุ่มบุคคลหรือองค์กรต่างๆ ที่มีนโยบายในหารสร้างสรรค์ที่ช่วยเหลือสังคม โดยที่ไม่หวังผลกำไรหรือค่าตอบแทน ซึ่งกลุ่มบุคคลหรือองค์กรเหล่านี้ได้แก่ สมาคม ชมรม มูลนิธิ และโครงการต่างๆ โดยอาจมีจุดประสงค์เฉพาะที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อทำความดี สร้างสรรค์สังคม พิทักษ์สิ่งแวดล้อมปกป้องสิทธิมนุษยชน รณรงค์ไม่ให้สูบบุหรี่หรืออาจรวมตัวกันเพื่อดูแลผลประโยชน์ของสมาชิกในกลุ่ม
                 8. เว็บส่วนตัว (Personal site) เว็บส่วนตัวอาจเป็นเว็บของคนๆเดียว เพื่อนฝูงหรือครอบครัวก็ได้ โดยอาจจัดทำขึ้นด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน เช่น แนะนำกลุ่มเพื่อน โชว์รูปภาพแสดงความคิดเห็น เขียนไดอารี่ประจำวัน นำเสนอผลงาน ถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่เชี้ยวชาญหรือสนใจ โดยทั้งหมดอาจทำเป็นเว็บไซด์หรือเป็นเพียงเว็บเพจหน้าเดียวก็ได้

5. โปรแกรมที่ใช้ในการดำเนินงาน

5.1 โปรแกรม Adobe Dreamweaver
                Micromedia Dreamweaver เป็นโปรแกรมสำหรับออกแบบและพัฒนาเว็บไซด์ด้วยการสร้สงเว็บเพจและเว็บแอพพลิเคชั่น ที่กำลังเป็นที่นิยมนำมาสร้างเว็บเพจในปัจจุบัยเนื่องจากใช้งานง่าย คุณสามารถที่จัดวางข้อความ รูปภาพ ตารางข้อมูล แบบฟอร์ม เป็นต้น ลงไปในเว็บเพจได้อย่างง่ายดายโดยไม่จำเป็นต้องใช้โคด HTML ใน Dreamweaver  มีเครื่องมือมากมายให้ใช้ในการพัฒนาเว็บได้อย่างรวดเร็ว สวยงาม และประสิทธิภาพสูง Dreamweaver  มีเครื่องในการจัดการและบริหารเว็บไซด์ที่ให้คุณ
ช่วยให้คุณจัดการ Site ของุณ เช่น สร้าง ลบ ย้าย และเปลี่ยนชื่อไฟล์ เป็นต้น
5.2 โปรแกรม Adobe Flash 
               เป็นซอฟต์แวร์ ที่ใช้สร้างชิ้นงานกราฟฟิกที่พบเป็นส่วนมากบนเว็บไซด์ต่างๆ และสามารถพบชิ้นงาน Flash บนเกมส์ สื่อโฆษณาบนเว็บไซด์อินเตอร์เฟสต่างๆ สร้างชิ้นงาน Interactive บนเว็บไซด์ การ์ตูนแอนิเมชั่นต่าวๆ สร้างเว็บไซด์ได้สวยงาม และสร้างลูกเล่นต่างๆ สร้างเกมส์ (GAME)
5.3 โปรแกรม Adobe Photoshop
               Photoshop เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างและตกแต่งภาพที่มีชื่อเสียง และได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากคุณสมบัติเด่นที่มีอยู่มากมาย ม่วาจะเป็นความสามารถจัดการกับไฟล์สารพัดชนิดที่ใช้ในงานประเภทต่างๆ ทั้งภาพที่ถ่ายจากกล้องดิจิตอล และภาพที่จะนำไปผ่านหระบวนการพิมพ์ โปรแกรมมีความสามารถเป็นเยี่ยมในการแก้ไขตกแต่งภาพ และการสร้างเอฟเฟ็กต์พิเศษต่างๆ มีเครื่องที่มีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นสูง
5.4 โปรแกรม Sothink Glanda
                เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างตัวอักษร Flash ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อความเคลื่อนไหวในลักษณะต่างๆ หลากหลายรูปแบบ อันจะทำให้ดว็บไซด์มีความน่าสนใจและสวยงามมากยิ่งขึ้น นอจากการทำ Effect ให้กับข้อความแล้ว ยังสามารถทำกับรูปภาพได้อีกด้วย และสามารถทำข้อสอบได้
 5.5 โปรแกรม Microsoft Word
                เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างเอกสาร โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor) หรือที่เรียกกันยิอๆว่า เวิร์ด” (Word) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างงานเอกสารทั่วไป ตัวอย่างเช่น จดหมาย ใบปะหน้าแฟซ์ ทำรายงาน หรือแม้กระทั่งหนังสือเป็นเล่มก็ตาม โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดเป็นหนึ่งในชุดปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิต (Microsoft Office)
5.6 โปรแกรม Captivate

                  เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างมัลติมีเดียบนเว็บ การจับภาพหน้าจอการทำภาพเคลื่อนไหวและอื่นๆ โปรแกรม Captivate สามารถสร้างบทเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ สร้างข้อสอบได้อย่างดีโดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนคำสั่ง เพราะโปรแกรมมัคำสั่งต่างๆ ไส้ให้เลือกผ่านทางจอของโปรแกรม จึงเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย เรียนรู้ได้รวดเร็ว เหมาะสำหรับครูเละผู้ที่มีหน้าที่ฝึกอบรมบุคลากร และสามารถส่งขึ้นเว็บ YouTube ได้ทันทีหรือจะทำเป็นไฟล์ PDF ก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น